วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน้าแรก


กิตติกรรมประกาศ
โครงงานแปรรูปอาหาร เรื่อง แซนวิชเห็ดนางฟ้า เป็นโครงงานที่ผู้จัดทำได้ตั้งใจทำขึ้นมา เพราะมีประโยชน์และมีคุณค่าทางด้านโภชนาการที่เราสามารถหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่นโดยรวมทั้งสามารถช่วยในการส่งเสริมทั้งด้านจิตใจเพราะการฝึกทำโครงงานนี้เป็นการฝึกความพยายามความสามารถและความประณีตในการทำเป็นอย่างมาก ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้รับความกรุณาจาก อาจารย์ พลภัทร ธีระกุล ที่คอยให้คำแนะนำคำติชม และเป็นที่ปรึกษาที่ดีตลอดในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้จนโครงงานได้ประสบความสำเร็จ


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   คณะผู้จัดทำ
บทคัดย่อ
     เห็ดนางฟ้าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น นำมาทำเป็นยารักษาโรค นำมาแปรรูปเป็นอาหารได้ เพราะเห็ดมีคุณภาพหลายอย่าง ดังนั้นกลุ่มของดิฉันจึงนำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปเป็นอาหาร เพราะเห็ดนางฟ้ามีสรรพคุณหลายอย่างทำให้เห็ดนางฟ้าเป็นที่ต้องการเป็นในการแปรรูปอาหารเป็นอย่างมากรวมถึงมีความหลากหลายในการใช้งาน ซึ่งกลุ่มของดิฉันจะนำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปเป็นแซนวิชเห็ดนางฟ้านี้ โดยใช้เห็ดที่หาได้ในท้องถิ่นนำมาแปรรูปเป็นแซนวิชเห็ดนางฟ้า 
บทที่ ๑
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
พื้นที่ในท้องถิ่นปลายพระยาของเราเมื่อมองไปรอบๆแล้วจะเห็นว่าอาหารส่วนใหญ่ที่รับประทานหลักมักจะเป็น หมู ไก่ ซึ่งบางครั้งอาจเข้าใจความต้องการบริโภคของที่อร่อยแต่บางครั้งควรคำนึกถึงการรับประทานอาหารที่ดี เพื่อรักษาสุขภาพบางจึงได้จัดทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อนำเห็ดนางฟ้าไปปรุงรสให้เป็นเห็ดฝอยแทนหมูฝอยสิ่งที่พิเศษกว่านั้นคือ เห็ดจะสามารถนำมาปรุงรสให้เข้มข้นมากกว่าหมู แถบยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย จึงจัดทำผลิตภัณฑ์ ที่ชื่อว่า แซนวิชเห็ดนางฟ้า
          ๑.      ที่มาและความสำคัญ
·       เพื่อต้องการแปรรูปสินค้าให้ได้น่าสนใจเกี่ยวกับการบริโภคเห็ดแทน หมู
·       เพื่อต้องการให้คนที่รับประทานไม่ต้องมากังวนเกี่ยวกับน้ำหนัก
·       เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง
·       เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      ระยะเวลาดำเนินงาน
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗  มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘
      สถานที่
ห้องอุตสาหกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม และบ้านของนักเรียนเอง
      งบประมาณ
700
๕ การศึกษาข้อมูล
๑.     สอบถามผู้ที่มีประสบการณ์
๒.   ศึกษาข้อมูลจากสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับเห็ดนางฟ้า
๓.    ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบ Internet และวารสารต่างๆ

      ๖  แหล่งเรียนรู้
๑.     ห้องสมุดโรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม
๒.   ศูนย์คอมพิวเตอร์โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม
       ๓   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้มีประสบการณ
      ๔ คุณครูที่ปรึกษาโครงงา

๗   การประเมินผล
ก่อนการดำเนินงานซักถาม
ระหว่างดำเนินงานตรวจสอบขั้นตอนการผลิตและถูกต้อง
สิ้นสุดการดำเนินงานทดสอบการใช้งาน ความคงทนและรับฟังคำชี้แนะและข้อเสนอแนะ







บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง


เห็ดนางฟ้า

มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่า เห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer
          เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี 
          อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว นิยมนำเพาะเป็นการค้ากันมาก

ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า

          มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้

วงจรชีวิตของเห็ดนางฟ้า

          วงจรชีวิตของเห็ดนางฟ้าก็เป็นแบบเห็ดทำลายไม้ทั่ว ๆ ไป คือมีชีวิตอยู่ข้ามฤดูอัตคัด ด้วยคลามีโดสปอร์ในท่อนไม้ พอถึงฤดูชุ่มชื้นก็งอกออกมาเป็นเส้นใย แล้วสร้างดอกเห็ดขึ้น ปล่อยสปอร์ลอยไป สปอร์งอกเป็นเส้นใยแล้วเจริญไปบนอาหารจนสร้างดอหเห็ดอีก วนเวียนไปอย่างนี้
          เห็ดนางฟ้าเติบโตดีที่ pH. 5 - 5.2 (คือเป็นกรดเล็กน้อย) อุณหภูมิที่เหมาะมากต่อเส้นใยคือ 32 องศาเซลเซียส และสร้างดอกเห็ดได้ดีที่ 25 องศาเซลเซียส เส้นใยสีขาวจัด มีความสามารถเชื่อมต่อเส้นใยได้ดี ใช้น้ำตาลในแง่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตได้ดีกว่าพวก โพลีแซคคาไรค์ หรืออาหารซับซ้อน

วงจรชีวิตเห็ดนางฟ้า
          1. ดอกเห็ดนางฟ้าเมื่อโตเต็มที่จะสร้างสปอร์บริเวณครีบ โดยการปล่อยสปอร์เมื่อแก่ออกเป็นระยะ ๆ
          2. เมื่อดอกเห็ดปล่อยสปอร์ออกมาแล้ว สปอร์ก็ปลิวไปตามกระแสลม
          3. เมื่อสปอร์ปลิวไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะงอกออกมาเป็นเส้นใยขั้นต้นมี 1 นิวเคลียส
          4. เส้นใยขั้นที่ 1 เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว ก็จะมารวมตัวกัน ซึ่งอาจมาจากต่างสปอร์กัน การรวมตัวของเส้นใยขั้นที่ 1 จะเป็นการเชื่อมกันแล้วถ่ายทอดนิวเคลียสมาอยู่ในเซลเดียวกัน กลายเป็นเส้นใยขั้นที่ 2
          5. หลังจากเส้นใยขั้นที่ 1 รวมตัวกันเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 แล้ว ก็จะเจริญเติบโตและสร้างเส้นใยเห็ดแทนเส้นใยขั้นที่ 1 อย่างรวดเร็วบนอาหาร
          6. เมื่อเส้นใยขั้นที่ 2 เจริญบนอาหารและโตเต็มที่แล้ว จะสะสมอาหารแล้วรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อสร้างดอกเห็ดต่อไป
          7. ดอกเห็ดนางฟ้าที่เกิดจากการรวมตัวของเส้นใยเห็ดขั้นที่ 2
ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า
          การเพาะเห็ดนางฟ้ามีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1) การผลิตเชื้อวุ้น 2) การทำหัวเชื้อเห็ด 3) การผลิตเชื้อถุงหรือก้อนเชื้อ 4) การเพาะให้เกิดเป็นดอกเห็ด
          การลงทุนจะมากในขั้นตอนที่ 1 - 3 ส่วนขั้นที่ 4 คือการผลิตดอกเห็ด จะทำขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้ ไม่ต้องลงทุนมาก หรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และที่วางอยู่มาใช้ได้ และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทำครบทุกขั้นตอนเลยก็ได้ หรืออาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่น จะทำเฉพาะหัวเชื้อเห็ด โดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออก รดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้
          ระบบการตั้งฟาร์มเห็ด ได้รับการแนะนำให้ทำเป็นขั้น ๆ ดังต่อไปนี้
          1. เริ่มเรียนรู้วิธีการกินเห็ด เราจะทำธุรกิจเห็ดต้องกินเห็ดเก่ง ต้องปรุงอาหารจากเห็ดหลายชนิด ทำให้อร่อยด้วย สามารถแนะนำผู้ซื้อเห็ดไปปรุงเองได้อย่างมั่นใจ เช่นนี้ทำให้เราพร้อมต่อการขายเห็ด
          2. ผลิตดอกเห็ดขาย 90% ของฟาร์มเห็ดที่ทำอยู่เริ่มจากวิธีนี้ โดยทำโรงเรือนขนาดย่อมๆ เพื่อใช้เพาะเอาดอกเห็ด ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มมาผลิตดอก โดยหาความชำนานและความรู้ไปเรื่อยๆ จนเชี่ยวชาญ ขั้นนี้อย่าเพิ่งลงทุนทำถุงเชื้อเอง ให้ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มที่ทำขายดีกว่า เริ่มจากน้อยๆ ทยอยทำ ได้เห็ดมาก็นำไปขายตลาด ขายเองหรือส่งแม่ค้าก็ได้ ขยายตลาดดอกเห็ดเพิ่มมากขึ้นไปเป็นลำดับ จนตลาดใหญ่ขึ้นและสม่ำเสมอดีแล้วจึงคิดผลิตถุงเชื้อ แต่ถ้าตลาดไปไม่ได้ก็หยุดแค่นั้น ไม่ขาดทุนมาก
          3. ผลิตถุงเชื้อเห็ด  ถ้าตลาดรับซื้อเห็ดและถุงเชื้อมากพอ จึงตั้งหน่วยผลิตถุงเชื้อได้ แต่ถ้าคำนวณว่าซื้อถุงถูกกว่าผลิตเองก็ไม่ควรทำ ควรไปดูฟาร์มทำถุงเชื้อหลาย ๆ ฟาร์ม แล้วมาคำนวณว่าเครื่องมือและวิธีการแบบใดดีที่สุด เตรียมการเอาคนคุมงานไปฝึกงานในฟาร์ม หรือติดต่อจ้างคนชำนาญในฟาร์มเก่ามาทำฟาร์มใหม่ ขั้นตอนนี้ก็ควรซื้อเชื้อข้าวฟ่าง ยังไม่ควรทำเอง การลงทุนขนาดเล็กจะใช้หม้อต้มไอน้ำต่างหาก (สตีมเม่อร์) แล้วต่อท่อมาอบถุงขี้เลื่อยในอีกหม้อต่างหาก ถ้างานนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นสมควร แล้วค่อยผลิตเชื้อข้างฟ่างและซื้อวุ้นต่อไป
          4. ผลิตเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่าง  เริ่มทำเมื่องานฟาร์มมีขนาดใหญ่มาก สำหรับระยะ 1 - 2 ปี ที่ผ่านมานั้นถ้ายังไม่ทำเชื้อวุ้นและเชื้อข้าวฟ่างมาก่อน ก็ไม่ควรทำขึ้นใหม่ มีผู้ทำขายมากอยู่แล้ว ซื้อเขาใช้ดีกว่า นอกจากจะห่างไกลซื้อยากจริงๆ แล้วต้องใช้มากจึงค่อยทำ



ขนมปัง
 เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีส หรือ ผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่นๆเพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังแซนด์วิช ขนมปังหวาน ขนมปังไรน์ หรือแม้กระทั่ง เพรทเซล (Pretzel) ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น
ขนมปังนั้นสามารถทานได้เลย แต่โดยปกติจะทานกับเนย เนยถั่ว แยม เยลลี่ แยมส้ม น้ำผึ้ง หรือทำเป็นแซนด์วิช ขนมปังนั้นสามารถนำไปอบหรือปิ้งได้ และจะเสิร์ฟร้อนหรือเย็นก็ได้

ส่วนผสมที่สำคัญของขนมปังมีดังนี้
ขนมปังเกิดจากโปรตีนของแป้งสาลีที่มีชื่อว่า กลูเตน โปรตีนชนิดนี้มีอยู่สูงในข้าวสาลี ในขณะที่ข้าวจ้าวที่คนไทยรับประทานในทุกวันมีกลูเตนอยู่น้อยมาก นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม ข้าวเจ้าจึงไม่สามารถนำมาทำขนมปังได้
ยีสต์จะถูกเติมลงไปในขนมปังเพื่อให้ขนมปังพองฟู เพราะยีสต์จะกินน้ำตาลที่อยู่ในแป้งและผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้ขนมปังมีรูปร่างเป็นก้อน ยีสต์ที่ใช้ในการทำขนมปังมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสด และ แบบผงเป็นต้น การใช้ยีสต์ที่ถูกต้องจะต้องทำการปลุกยีสต์เสียก่อน โดยการละลายน้ำในอุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส การใช้ยีสต์จึงทำได้ยากกว่า แต่ให้ผลดีที่จะให้เนื้อขนมปังและรสชาติดีกว่าการใช้ผงฟู ยีสต์ที่ใช้โดยทั่วไป คือ Saccharomyces cerevisiae
ผงพูคือ โซเดียมไบคาร์บอร์เนต ถูกใช้ในการทำขนมปังเพื่อแทนการใช้ยีสต์ เพราะเมื่อผงฟูผสมกับน้ำก็จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่นเดียวกับที่ยีสต์ทำ แต่จะมีผลข้างเคียงคือ หากใส่มากเกินไปจะทำให้มีรสชาติเฝื่อนขม และ การฟูของขนมปังก็จะหยาบกว่าการใช้ยีสต์ แต่ข้อดีคือ ใช้ได้ง่ายกว่า และก็เก็บรักษาได้นานกว่ากัน ผงฟูมีด้วยกันสองสูตรคือ สูตรหนึ่ง คือ ผงฟูที่จะปล่อยก๊าซออกมาครั้งเดียวทั้งหมดตอนที่เราผสมเข้ากับเนื้อขนมปัง สูตรสอง คือ ผงฟูที่จะปล่อยก๊าซออกมาสองครั้ง คือ ตอนที่ผสมกับเนื้อขนมปัง และ อีกครั้งตอนที่โดนความร้อนในเตาอบ


ผักกาดหอม
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Lactuca sativa) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae ลำต้นเตี้ย แต่ส่วนที่เจริญมากที่สุดคือใบ แต่ละสายพันธุ์ก็มีช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ประเทศจีนปลูกผักกาดหอมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ผักกาดหอมมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ผักสลัด ผักกาดยี พังฉ้าย เป็นต้น
มนุษย์นำใบของผักกาดหอมมาบริโภค มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม ผักกาดหอมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง[ต้องการอ้างอิง] ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลงานต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ
สายพันธุ์[แก้]
สายพันธุ์ของผักกาดหอมแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
ผักกาดหอมที่ห่อหัวคล้ายกะหล่ำปลี (head lettuce)
ผักกาดหอมชนิดธรรมดาไม่ห่อ (leaf lettuce)
ผักกาดหอมที่มีลำต้นยาว (stem lettuce)
ในประเทศไทยนิยมปลูก 2 ประเภท ได้แก่
คริสป์เฮด (Crisp Head) หรือไอซ์เบิร์ก (Iceberg) คือผักกาดหอมห่อหรือผักกาดแก้ว มีลักษณะใบบางกรอบและขอบใบหยัก ปลูกได้ในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนพอปลูกได้บ้างในบริเวณที่สูงทางภาคเหนือบางเขต ต้องการอุณหภูมิในการเจริญเติบโตระหว่าง 15.5–21 องศาเซลเซียส พันธุ์คริสป์เฮดเช่น
เกรต เลก 659 (Great Lake 695 TARII) เป็นพันธุ์หนักปานกลาง ใบสีเขียวเข้มหยัก พันธุ์นี้ไม่ค่อยมีปัญหาใบไหม้ (Sun burn)
เกรต เลก 366 (Great Lake 366 TAII) เป็นพันธุ์ค่อนข้างเบา หัวห่อกลม มีใบสีเขียว รอบนอกใบหยัก มีความต้านทานโรคใบแห้วทิปเบิร์น (Tip Burn)
ซัมเมอร์ เลก (Summer Lake) เป็นพันธุ์เบา หัวห่อกลมสีเขียวอ่อน ใบหนัก
ลีฟ (Leaf) หรือลูสลีฟ (Loose Leaf) คือผักกาดหอมใบหยิก ใบมีลักษณะหยิกเป็นคลื่นสีของใบ มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีแดง แต่เรามักจะพบเห็นใบสีเขียวอ่อนมากกว่า พันธุ์นี้สามารถปลูกได้ตลอดปี และจะปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคมเมษายน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 21-26.6 องศาองศาเซลเซียส พันธุ์ลีฟเช่น
แกรนด์ แรปปิด (Grand Rapid) มีใบสีเขียวอ่อน ใบม้วนและหยักอัดกันแน่น ต้นใหญ่เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด
แบล็ก ซีดเดด ซิมป์สัน (Black Seeded Simpson) เมล็ดสีดำ มีต้นใหญ่ ใบหยักฝอยยู่ยี่อัดกันแน่นมาก
การเพาะปลูก[แก้]
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ผักกาดหอม
ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน แต่ก็สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่ใช้ปลูกต้องระบายน้ำได้ดี มีค่า pH ในดิน 6.5-7 ขุดดินเป็นร่องตื้นแล้วหว่านเมล็ดลงไป รดน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ เมื่อผักกาดหอมงอกแล้วอาจต้องมีการย้ายกล้าออกเพื่อไม่ให้อยู่ติดกันแน่นเกินไป ผักกาดหอมเป็นผักที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลง แมลงศัตรูพืชที่พบบ้างก็มีเพลี้ย กับหนอนกระทู้หอม ซึ่งพบมากในฤดูหนาวแถวภาคกลางและภาคเหนือ อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดหอมประมาณ 40-50 วัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิกิตำรา)

 
มะเขือเทศ
(ชื่อวิทยาศาสตร์Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียมฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด
ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน บางใบเล็กรียาว บางใบกลมใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อยมีขนอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี ผิวนอกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว หรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำมีรสเปรี้ยว เมล็ดมีเป็นจำนวนมาก มะเขือเทศมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์สีดา พันธุ์โรมาเรดเพียร์ เป็นต้น
ชื่ออื่น : มะเขือ (ทั่วไปไม่มีกรุงเทพ) บะเขือส้ม (ภาคเหนือ)
ประโยชน์
·         มะเขือเทศมีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อราได้
·         มะเขือเทศมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ไลโคปีน ที่มีคุณสมบัติสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ หากทานมะเขือเทศ 10 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายได้ถึง 45% นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีบีตา-แคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก ที่มะเขือเทศมีรสชาติอร่อยนั้น เพราะมีกรดอะมิโนที่ชื่อกลูตามิคสูง กรดอะมิโนนี้เองเป็นตัวเพิ่มรสชาติให้อาหาร ทั้งยังเป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรสด้วย
·         รักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะนำมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม
·         ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารบีตา-แคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น
·         มะเขือเทศมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูง เพราะมะเขือเทศมี วิตามินพี (citrin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความดันโลหิตสูง มะเขือเทศมีวิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซีมากทำให้สามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ช่วยระบบการย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระอีกด้วย
·         ช่วยบำรุงผิวลดริ้วรอย ผิวพรรณไม่แห้งกร้าน ระบบการหมุนเวียนเลือดดีขึ้น และยังสามารถต้านมะเร็งได้ด้วย
·         ซอสมะเขือเทศสามารถนำมาใช้หมักผมได้ โดยจะช่วยป้องกันการเปลี่ยนไปของสีผมอันเนื่องมาจากการว่ายในน้ำในสระที่มีคลอรีน และยังนำมาใช้ขัดเครื่องประดับเงินชิ้นโปรดของคุณให้เงางามได้เหมือนเดิม [1]
ประโยชน์ของมะเขือเทศ
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรัยแห่งวัย น้ำมะเขือเทศช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ช่วยเสริมคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง มีวิตามินเอซึ่งมีส่วนชวยบำรุงสายตา มะเขือเทศ มีบีตาแคโรทีน และฟอสฟอรัสในปริมาณมาก มะเขือเทศช่วยในการรักษาสิว ด้วยการนำน้ำมะเขือเทศมาพอกผิวหน้า หรือฝานบางๆแล้วนำมาแปะหน้าก็ได้ ช่วยทำให้ผิวหน้าเต่งตึงสดใส ด้วยการนำน้ำมะเขือเทศมาพอกผิวหน้า หรือฝานบางๆแล้วนำมาแปะหน้าก็ได้ มะเขือเทศใช้นำมาทำเป็นน้ำผลไม้ โดยน้ำผลไม้ที่ขึ้นชื่อก็คือ น้ำมะเขือเทศดอยคำ เป็นที่นิยมนำมาทำเป็นอาหารได้หลายเมนู เช่น ข้าวผัด ซุป ยำต่างๆ เป็นต้น ช่วยใหร่างกายสามารถต่อสู้กับโรคหอบหืดได้มากถึง 45% ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม หริออัลไซเมอร์ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศมีฤทธิ์ในการช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ การเกิดโรคหัวใจวาย สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยในระบบย่อยในกระเพาะอาหารและช่วยในการขับถ่ายอุจจาระได้สะดวก ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา หรือเชื้อราที่ปาก ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายได้ถึง 45% หากรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ในเพศหญิง ซอสมะเขือเทศหมักผม ด้วยการใช้มะเขือเทศหมักผมจะช่วยป้องกันการเปลี่ยนไปของสีผม อันเนื่องมาจากการว่ายในน้ำในสระที่มีคลอรีน ซอสมะเขือเทศนำมาใช้ขัดเครื่องประดับเงินชิ้นโปรดของคุณให้เงางามเหมือนเดิมได้ ด้วยนำซอสมะเขือเทศมาถูแล้วล้างน้ำออก ซอสมะเขือเทศช่วยในการดับกลิ่นคาว เศษอาหาร กลิ่นปลาสลิดได้เหมือนกันนะ เพียงแค่เปิดฝาซอสทิ้งไว้ 1 คืนเท่านั้น ซอสมะเขือเทศช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหลังจากการหกล้ม หรือถูกมีดบาดได้

แตงกวา
 หรือ แตงร้าน[1] เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย[1] นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แตงกวามีรากแก้ว แตกแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถามีขนขึ้นมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร มีหนวดเกาะบริเวณข้อโดยส่วนปลายของหนวดไม่มีการแตกแขนง ใบมีก้านใบยาว 5 – 15 เซนติเมตร ใบหยาบมีขนใบ มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่มี เส้นใบ 5 – 7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวผู้เป็นดอกเดี่ยว ผลแตงกวามีลักษณะเรียวยาวทรงกระบอก มีใส้ภายในผล ความยาวระหว่างผล 5- 40 เซนติเมตร[2]
ประโยชน์
แตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิกา โพแทสเซียม โมลิบดีนัม แมงกานีส และแมกนีเซียม
ซิลิกาเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ปริมาณ เส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีส ในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความ สมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการไหลเวียนโลหิต เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะ กับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก[3]
แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ทนทานต่อสารมลพิษอินทรีย์แต่สามารถส่งเสริมการย่อยสลายสารพิษในไรโซสเฟียร์ได้ดี โดยสามารถส่งเสริมการย่อยสลายเอนโดซัลแฟน ซัลเฟต[4] แอนทราซีนและฟลูออรีน[5]ได้


ปูอัด 
พอพูดถึงเรื่องปูอัก ไม่มีใครที่ไม่มีรู้จัก เพราะปูอัดเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่กินได้ทุกเพศ ทุกวัย  แต่เคยมีใครสงสัยบ้างไหมว่าเจ้าอาหารที่เรียกว่า ปูอัด มันทำมาจากอะไร วันนี้เรามีโอกาสได้นำข้อมูลมาฝากกัน
ปูอัด แท้จริงแล้วเป็นชื่อเรียกของ เนื้อปูเทียม! การผลิตเนื้อปูเทียมนั้น เกิดจากความคิดที่ว่า ปลาที่จับได้ในปัจจุบันส่วนใหญ่นั้นจะมีขนาดเล็กมาก จนถือว่าไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้บริโภคไม่มีใครนิยม ราคาจึงถูกมาก ประมาณร้อยละ ๙๐ ของปลาขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า ปลาเป็ด จะถูกนำไปทำเป็นปลาป่นสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ นับได้ว่าเป็นการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จากนั้นบริษัทแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นก็ได้คิดค้นนำปลาชนิดที่ว่านี้มาทำเป็นเนื้อปูเทียมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ 
ไทยนั้นเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพมากในการทำประมง และมีบริษัทผลิตเนื้อปูเทียมมานานหลายปีแล้วด้วย ปลาที่ใช้ได้แก่ ปลาตาโต ปลาทรายแดง ปลาทรายขาว ปลาดาบ ปลากะพง เป็นต้น  วิธีทำเริ่มต้นจากการนำปลามาตัดหัว ควักไส้ทิ้ง ส่งเข้าเครื่องบีบเอาแต่เนื้อปลา นำปลาบดที่ได้มาผสมเครื่องปรุงจำพวกแป้ง  น้ำตาล เกลือ ผงชูรส และกลิ่นปู เสร็จแล้วนำไปทำให้สุกและทำให้เนื้อปลามีลักษณะเป็นเส้นเหมือนเนื้อปูจริงๆ จากนั้นจึงอัดเป็นแท่งยาวๆ แล้วตกแต่งสีให้ดูเหมือนเนื้อปูจริงๆ นั่นเอง บางบริษัทถึงกับอัดเนื้อปูเทียมเป็นรูปก้ามปูเลยด้วยแบบที่แกะเปลือกแล้วดูน่ากิน  อย่างไรก็ตาม มีผู้บริโภคจำนวนมากคิดว่าปูอัดเป็นเนื้อปูจริงๆ แต่ก็รู้ในภายหลังว่าปูอัดนั้นทำมาจากเนื้อปลานั้นเอง


มายองเนส 
(ฝรั่งเศส: mayonnaise ออกเสียงว่า มายอแนซ) หรือ ซอสไข่แดง เป็นซอสข้นที่ทำจากไข่แดง น้ำมัน และน้ำส้มสายชู (หรือใช้น้ำมะนาวแทนได้)[1][2] เป็นเครื่องปรุงรสของอาหารชาวตะวันตกหลายชาติ เช่น อาหารฝรั่งเศส อาหารสเปน เป็นต้น มายองเนสมีสีขาว สีเหลืองอ่อน หรือสีครีม


น้ำมันพืช 
เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่สกัดจากพืช น้ำมันพืชเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์หลายสหัสวรรษ[1] คำว่า "น้ำมันพืช" สามารถนิยามอย่างแคบหมายความถึงเฉพาะสสารที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง[2] หรือนิยามอย่างกว้างโดยไม่คำนึงถึงสถานะของสสารที่อุณหภูมิใด ๆ ก็ได้[3] ด้วยเหตุนี้ น้ำมันพืชที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง บางครั้งจึงเรียกว่า "ไขมันพืช" น้ำมันพืชประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ ตรงข้ามกับไขที่โครงสร้างไม่มีกลีเซอริน แม้หลายส่วนของพืชจะมีน้ำมันเก็บสะสมไว้ก็ตาม แต่ในเชิงพาณิชย์ จะสกัดน้ำมันพืชจากเมล็ดเป็นหลัก

น้ำตาล
 เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตสและกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners)
ของน้ำตาลพบได้ในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่
โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี พ.ศ. 2554 โดยเฉลี่ยคนบริโภคน้ำตาล 24 กิโลกรัมต่อปี (33.1 กก. ในประเทศอุตสาหกรรม) เทียบเท่ากับอาหารปริมาณมากกว่า 260 แคลอรีต่อวัน

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศควรรษที่ 20 มีข้อสงสัยว่าอาหารที่มีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะน้ำตาลขัดแล้ว ดีต่อสุขภาพมนุษย์ น้ำตาลมีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วน และเป็นที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อม และฟันผุ มีการศึกษาหลายครั้งเพื่อยืนยันแต่ด้วยผลลัพธ์ที่หลากหลาย โดยหลักเป็นเพราะการหาประชากรที่ไม่บริโภคน้ำตาลให้เป็นปัจจัยควบคุมนั้นทำได้ยาก